วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ประสบการณ์ร้านพิมพ์งานบน ubuntu 9.04

ประสบการณ์ร้านพิมพ์งานบน ubuntu 9.04 PE+ 9.04 PB
เกริ่นนำa
              ร้านพิมพ์งาน เป็นงานบริการที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ใน การทำงาน  ซึ่งสามารถที่จะให้บริการได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรายงาน         คีย์ข้อมูล พิมพ์วิทยานิพนธ์ จดหมาย นามบัตร แผ่นพับ ใบปลิว โบรชัวร์ พิมพ์ซอง  พิมพ์การ์ดเชิญต่าง ๆ  หรือรับปริ้นท์ภาพถ่าย ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ทำเล และความถนัดของแต่ละร้าน ซึ่งบางครั้งอาจมีรับ-ส่ง แฟกซ์ เข้าเล่ม เคลือบบัตร รับห่อปก ขายเครื่องเขียน รวมถึงรับถ่ายเอกสาร ควบคู่กันไปด้วย  ร้านพิมพ์งานนับว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ  จึงมีผู้สนใจเปิดร้านพิมพ์งานกันมากขึ้น
              ปัญหาที่ผู้เปิดร้านพิมพ์งานต้องพบเจอ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ
              ปัญหาข้อที่ 1. อุปกรณ์ที่เป็นหัวใจของกิจการนั้น  สามารถเกิดความเสียหายได้ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ว่านั้นหมายถึง คอมพิวเตอร์ หากแต่คอมพิวเตอร์ที่ว่าเสียหายนั้น ไม่ใช่ความเสียหายที่แท้จริง! เพราะโดยส่วนมากจริงๆ ส่วนที่เสียหายนั้น ไม่ใช่อุปกรณ์หรือ hardware เสียหาย แต่สิ่งที่เสียหายนั้นคือ software การ เสียหายของซอฟต์แวร์นั้น  ก่อให้เกิดความเสียหายของข้อมูลจนต้องเสียลูกค้า  เสียเวลาทำใหม่ หรือ เกิดความล่าช้า เกิดปัญหาในการทำงานอยู่บ่อยครั้ง เป็นที่รู้กันดีกับคำพูดที่ติดปากว่า “ถ้าซ่อมเองไม่เป็น อย่าเปิดร้าน" แต่ ละร้านจึงต้องใช้งบประมาณการซ่อมบำรุง และซื้อใหม่  เป็นค่าใช้จ่ายหลักอีกส่วนหนึ่งของร้าน  ซึ่งเมื่อค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ บ่อยๆ ครั้ง ไปรวมกับบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าภาษี แล้ว อาจทำให้บางร้านถึงกับต้องเลิกกิจการไป
              สิ่ง ที่ทำให้ซอฟต์แวร์เกิดความเสียหายนั้นคือ ไวรัส สปายแวร์ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่รับเข้ามาทั้งทางอินเตอร์เน็ต และจากสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ลูกค้านำมา และบางครั้งร้านพิมพ์งานเองก็เป็นแหล่งแพร่กระจายของไวรัสให้กับลูกค้าได้ เป็นอย่างดี
              ถ้าเช่นนั้นเป็นไปได้หรือไม่ ที่เมื่อระบบปฏิบัติการเสียหาย แต่เราก็ยังหาวิธีใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานต่อได้ และสามารถนำข้อมูลสำคัญออกมาได้ ?  ซึ่งผู้เขียนจะยังไม่เฉลย
              ปัญหาข้อที่ 2. ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ที่ จริงแล้วซอฟต์แวร์ที่เราใช้กันอยู่นั้น มีลิขสิทธิ์และมีไว้เพื่อจำหน่าย แต่ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์นั้น ก็มีราคาค่อนข้างสูง ผู้ที่ลงทุนซื้อก็ไม่ต้องกังวลใจหรือหวาดระแวงต่อปัญหานี้ก็นับว่าเป็นการลง ทุนที่ถูกต้อง และคุ้มค่าแลกกับการใช้งานอย่างสบายใจกว่าผู้ที่ไม่ได้ซื้อมาใช้โดยถูกต้อง
            ปัญหาตรวจจับลิขสิทธิ์ในบ้านเรานั้น มีอยู่จริง เพียงแต่เรานั้นอาจไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร หากเรื่องนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับตนเองก่อน จึงคิดจะหาทางแก้ไข กลับมองเห็นว่าเรื่องลิขสิทธิ์นั้นเกิดความตื่นตระหนก หรือวิตกกังวลไปเอง
          เมื่อมองกลับไปในปี 2534 ขณะที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้น ม.3 ซึ่งได้เรียนและใช้เครื่องพิมพ์ดีดในการทำงานเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อ olympia แคร่ยาว ใช้แป้นพิมพ์แบบเกษมณี ซึ่งมีราคาประมาณ 13,000 บาท และได้เห็นเครื่องพิมพ์ดีดอีกส่วนหนึ่งถูกเก็บไว้ ไม่ได้ใช้งานแล้วแต่ยังมีสภาพใหม่ ซึ่งแป้นพิมพ์นั้นเป็นแบบปัตตะโชติ ซึ่งสามารถทำให้พิมพ์ได้เร็วกว่าประมาณ 25.8% แต่ไม่อนุญาตให้นำมาใช้ในการเรียนแล้ว ผู้เขียนเรียนแป้นพิมพ์แบบเกษมณี ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน และได้รับพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์ดีดของที่โรงเรียน เพราะผู้เขียนต้องไปซ้อมพิมพ์ดีดเพื่อไปแข่งขันด้วย ตอนนั้นที่โรงเรียนเริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์จอแสดงผลตัวอักษรสีเขียวอยู่ 1 เครื่อง 
        ปี 2535 ผู้เขียนได้เรียนคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และทำงานที่ร้านพิมพ์งานซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมเวิร์ดจุฬา CW และ เวิร์ดราชวิถี RW ในการพิมพ์งาน และใช้โปรแกรม lotus ในการพิมพ์งานคำนวณ ลักษณะเดียวกับ MS Excel
        ปี 2538 ขณะที่ผู้เขียนเรียนระดับชั้น ปวส.ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจก็เริ่มได้สัมผัสกับ windows 3.11 และ word 2.0 ซึ่งเริ่มเข้ามาแทนที่เวิร์ดจุฬา และเวิร์ดราชวิถี และประมาณปี 2539 windows95 ก็มาแทนที่อีก
        ปี 2540 ผู้เขียนทำงานเป็นพนักงานคอมพิวเตอร์ ที่บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งใช้ windows95 และรับงานพิเศษใช้เวิร์ดราชวิถีในการพิมพ์รายงาน และวิทยานิพนธ์ เนื่องจากงานวิทยานิพนธ์จากบางสถาบันนั้น กำหนดให้ใช้เวิร์ดจุฬา หรือเวิร์ดราชวิถี เท่านั้น และ windows ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นไปสู่ windows98,windows me และ windows xp รวมทั้งชุดโปรแกรมออฟฟิตก็เปลี่ยนตามไปด้วย
        ปี 2546 ผู้เขียนได้ทำงานเป็นพนักงานคอมพิวเตอร์ ที่บริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ก็ใช้โปรแกรมเหมือนกับที่ใช้ทั่ว ๆ ไป ทางบริษัทได้รับการติดต่อ และแจ้งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์โปรแกรม แต่ละโปรแกรม ในทุกเครื่อง โดยละเอียด เป็นจำนวนเงินที่สูงมาก
            การแก้ปัญหาและปรับเปลี่ยนในตอนนั้น ทำได้ยาก แม้ในตอนนั้นจะมี pladao office, office tle และ linux tle ออกมาแล้ว แต่ก็ยังนับว่าเป็นการยากที่จะนำข้อมูลเดิมมาใช้ได้แบบทันทีทันใด ทางบริษัททำได้เพียงตัดโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออก จึงลดค่าใช้จ่ายลงได้ระดับหนึ่ง โชคยังดีที่ server ขณะนั้นเป็น server ลีนุกซ์ ไม่เช่นนั้นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ คงสูงกว่านี้อีกมาก  เหตุใดเราจึงไม่สามารถถอยหลังกลับไปใช้วิธีการเดิม ที่เคยสร้างงานชิ้นเดิมได้ดี เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว นี่คือสิ่งแสดงความไม่ยั่งยืนและขาดการพึ่งพาตนเอง อันเกิดจากการใช้งานโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์จนกลายเป็นความเคยชินไปแล้ว 
               แล้วเราจะแก้ หรือช่วยกันลดปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
               ผู้เขียนเองได้ใช้แผ่นซีดีเพียงแผ่นเดียว ที่ใช้แก้ปัญหาข้อที่ 1. คือ อุปกรณ์ที่เป็นหัวใจของกิจการนั้น สามารถเกิดความเสียหายได้ตลอดเวลา มาใช้แก้ปัญหาข้อที่ 2 ได้ด้วย ปัญหาข้อที่ 2. คือ ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์  มาเสียบเข้าไดร์ฟซีดี แผ่นซีดีที่ว่านี้คือ ubuntu 9.04 PE และ ubuntu 9.04 PB ลีนุกซ์ อูบุนตูพร้อมใช้ ที่มีเครื่องมือครบถ้วนสำหรับร้านพิมพ์งาน
                แต่การที่จะนำ ubuntu มาใช้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับตัวอยู่บ้าง ต้องอาศัยคู่มือในการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาไทยมีอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นการยากที่จะนำมาใช้กับงานที่ทำอยู่ เมื่อ www.ubuntuclub.com ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลอยู่เป็นประจำ ได้ร่วมกันจัดทำคู่มือภาษาไทยขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาการใช้งาน ได้สะดวกยิ่งขึ้น
                    
                -โอเล่ปริ้นท์ งานทุกชิ้น พิมพ์และปริ้นท์บนอูบุนตู(ubuntu) - ร้านพิมพ์งานยังใช้ได้ อยากให้ท่านลองใช้ดู-


มาเริ่มกันเลย 
1. เรียกใช้ openoffice writer โปรแกรมสำหรับพิมพ์งาน จาก
     เมนูโปรแกรม > สำนักงาน > openoffice.org word processor(ภาพที่ 1)  โปรแกรมจะแสดงโลโก้และเข้าสู่การทำงาน(ภาพที่ 2)
จะเข้าสู่หน้าจอของชุด openoffice(ภาพที่ 3)  ซึ่งท่านสามารถเลือกโปรแกรมที่ต้องการสร้าง หรือเปิดไฟล์ที่ต้องการ จะเข้าสู่หน้าจอการทำงานของ openoffice.writer (ภาพที่ 4) 
                                                                     
 ภาพที่ 1 การเรียกใช้โปรแกรมopenoffice.writer     ภาพที่ 2 หน้าจอโลโก้ openoffice.org หรือ oOo
              
ภาพที่ 3 หน้าจอเมนูของ openoffice.org



                                                   ภาพที่ 4 หน้าจอการทำงาน openoffice.writer
ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นโดยมากจะสามารถพิมพ์กันได้อยู่แล้วเพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยน และศึกษานิดหน่อย จะขอนำเสนอเฉพาะงานที่เป็นประเด็นว่า ubuntu ทำได้จริงหรือไม่  ไปพิสูจน์กัน
                
1.การพิมพ์งานด้วย openoffice.writer
                 1.1  การพิมพ์วิทยานิพนธ์ - บรรณานุกรม ด้วย openoffice writerบน ubuntu 
งานวิทยานิพนธ์ - และการพิมพ์บรรณานุกรม โดยใช้โปรแกรม openoffice.writer บนระบบปฏิบัติการ ubuntu 9.04 PE+PB
        งานวิทยานิพนธ์นั้น มีข้อบังคับเรื่องการใช้รูปแบบตัวอักษร ขนาดของตัวอักษร ระยะห่างระหว่างวรรค ย่อหน้า และการตั้งหน้ากระดาษ การตัดคำระหว่างบรรทัด งานวิทยานิพนธ์จึงถือเป็นงานที่ถือว่าอยู่ในกฎต่างๆ ค่อนข้างมาก ซึ่งในรายละเอียด แตกต่างกันไป ตามสถาบันที่เป็นผู้กำหนดรูปแบบของวิทยานิพนธ์
        แต่สิ่งที่เหมือนกันอยู่สิ่งหนึ่งคือ รูปแบบอักษรนั้น ใช้รูปแบบอักษร Angsana ซึ่งใน Ubuntu นี้เราจะใช้อักษร Angsima แทน ซึ่งมีรูปแบบที่เหมือนกัน และขนาดของตัวอักษรที่ใช้แทน Angsana ได้อย่างไม่มีปัญหาเพราะฟอนต์ Angsana นั้น มีลิขสิทธิ์อยู่ 
        แต่หากท่านได้ฟอนต์มาอย่างถูกต้อง ก็สามารถนำมาติดตั้งเพิ่มได้ โดยไปที่เมนู โปรแกรม>เครื่องมือระบบ>Font Installer (ภาพที่ 5)
และเลือก Folder ที่เก็บฟอนต์ หรือชื่อฟอนต์ที่ต้องการ (ภาพที่ 6)
        
  ภาพที่ 5 เมนูคำสั่งโปรแกรมติดตั้งฟอนต์

       
ภาพที่ 6 การเลือกตำแหน่งฟอนต์ที่ต้องการติดตั้ง เฉพาะไฟล์ หรือทั้งหมดในโฟลเดอร์
    ซึ่งฟอนต์บนวินโดว์นั้น บางฟอนต์อาจมีปัญหาเมื่อแสดงผลการทำงานบน ubuntu หรือปริ้นท์ได้ไม่สมบูรณ์ผู้เขียนจึงแนะนำให้ใช้ฟอนต์ที่ติดตั้งมาพร้อมระบบ ubuntu จะดีกว่า ขอขอบคุณท่านอาจารย์วิทยา ซึ่งได้ปรับปรุงฟอนต์ทดแทน เพื่อใช้แทนฟอนต์บนวินโดว์ ซึ่งในการทำงานที่ค่อนข้างเป็นทางการ ผู้เขียนจะใช้ฟอนต์ Angsima

1. ตั้งค่าหน้ากระดาษ หน้ากระดาษที่กำหนดรูปแบบในวิทยานิพนธ์คือ ขอบซ้าย 1.5" ขอบบน 1.5" ล่าง 1" ขวา 1"
ซึ่งก่อนอื่นเราต้องตั้งค่าตัวเลือกให้แสดง หน่วยวัดที่ใช้ เป็นนิ้วก่อนครับ
        โดยไปที่  คำสั่งเมนู บน openoffice writer  เครื่องมือ > ตัวเลือก  (ภาพที่ 7)
จะแสดงหน้าต่าง ตัวเลือกขึ้นมา ด้านซ้ายมือเราจะสามารถเลือกหัวข้อการตั้งค่า ส่วนด้านซ้ายมือจะแสดงรายละเอียด
ให้เลือก หัวข้อ openoffice.writer > ทั่วไป เลือกปรับหน่วยวัด เป็นนิ้ว ส่วนอื่น ๆ ให้คงไว้เช่นเดิม แล้วตอบตกลง (ภาพที่8)
ภาพที่ 7 การเรียกคำสั่งตัวเลือกจากเมนูคำสั่ง

ภาพที่ 8 การตั้งค่าหน่วยวัดให้แสดงผลเป็นนิ้วใน openoffice.writer
TIPS:บน openoffice นี้ จะสามารถเรียกคำสั่งได้อีกวิธีหนึ่ง โดยการคลิกปุ่มเมาส์ขวา จะปรากฎ เมนูลัด ใช้งานคำสั่งหลัก ๆ บนเมนูได้

เราจะเห็นบนแถบไม้บรรทัด ว่าหน่วยวัดนั้นเป็น หน่วยนิ้ว เรียบร้อยแล้ว (ภาพที่ 9)
-  หากแถบไม้บรรทัด ไม่แสดง ให้ท่านเข้าไปที่ เมนู มุมมอง > ไม้บรรทัด แล้วให้เลือกเครื่องหมายถูก หน้าช่อง โปรแกรมก็จะแสดงไม้บรรทัดขึ้นมา (ภาพที่ 10)
 
ภาพที่ 9 แสดงแถบเครื่องมือไม้บรรทัด ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นนิ้ว


 
ภาพที่ 10 แสดงคำสั่งให้แสดงแถบไม้บรรทัด



    จะเห็นว่ากั้นขอบ บนล่าง ซ้ายขวา เท่า ๆ กันหมด เราก็จะทำการตั้งค่าหน้ากระดาษให้ตรงตามรูปแบบ
ของวิทยานิพน์ คือ ขอบซ้าย 1.5" ขอบบน 1.5" ล่าง 1" ขวา 1"
    การตั้งค่าหน้ากระดาษ เป็นส่วนที่ openoffice writer วางตำแหน่งเครื่องมือไว้ ต่างไปจาก ms office
โดยเราต้องไปที่ เมนู  รูปแบบ>หน้า (ภาพที่11) 
 

      ภาพที่ 11 เมนูคำสั่งตั้งค่าหน้ากระดาษ รูปแบบ>หน้า


ภาพที่ 12 การกำหนดคุณสมบัติของหน้ากระดาษ
       จะแสดงหน้าต่างลักษณะหน้า ขึ้นมา (ภาพที่ 12) ให้เราคลิ๊กที่ tab หน้า  และตั้ง รูปแบบกระดาษ > รูปแบบ เป็นขนาด A4 และกำหนดระยะขอบ ซ้าย(กั้นหน้า) 1.5"  ขอบขวา 1" ขอบบน 1.5" และขอบล่าง 1" แล้วตอบตกลง เราก็จะได้ ลักษณะกั้นหน้าตามที่ต้องการ (ภาพที่ 13)
                              

ภาพที่ 13 ภาพแสดง ขอบกระดาษ หลังกำหนดระยะขอบ

    ซึ่ง เราจะได้คุณสมบัติ ขอบของกระดาษเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์แล้ว สังเกตว่าที่ระยะแท็บ จะมีระยะห่างประมาณ 0.49" เป็นค่ามาตรฐาน
ซึ่งขั้นตอนต่อไปเราจะตั้ง tab เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน

การตั้ง tab เพื่อความสะดวกในการย่อหน้า

       
    การตั้ง tab ในวิทยานิพนธ์ นั้น นิยมตั้งย่อหน้าแรกเคาะ 7 ตัวอักษร แล้วเริ่มพิมพ์ตัวอักษรแรกที่ตำแหน่งตัวอักษรที่ 8 และหากมีหัวข้อหรือรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก ให้ย่อหน้าเข้าไปอีกครั้งละ 3 เคาะ ไปเรื่อย ๆ
    โดยดับเบิ้ลคลิกที่บนแถบไม้บรรทัดด้านบน
    ในที่นี้ผู้เขียนจะกำหนด tab แรกเป็น 0.6" , Tab ที่ 2 0.85", Tab ที่ 3 1.1", Tab ที่ 4 1.35" (ภาพที่ 14)

ภาพที่ 14 แสดงการตั้งแท็บ หรือย่อหน้า


    เริ่มพิมพ์
รูปแบบอักษรที่จะใช้ในที่นี้คือ Angsima ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 
            - ขนาดตัวอักษร 16 ใช้กับ เนื้อความทั่วไป
            - ขนาดตัวอักษร 18 หนา ใช้กับ หัวข้อใหญ่ที่ชิดกับแนวกั้นหน้า
            - ขนาดตัวอักษร 20 หนา ใช้กับ บทที่ และชื่อบท
    วิทยานิพนธ์นั้นประกอบด้วย ส่วนประกอบต่าง ๆ หลายส่วน เริ่มจากปก
            1. ปกนอก 2.ปกใน
            -โดยปกติแล้ว ปกนอกจะใช้ตัวอักษร 18/20 หนา ซึ่งจะเป็นตัวอักษรสีทอง บนพื้นหนังหรือกระดาษแข็ง ซึ่งแล้วแต่ข้อกำหนดของสถาบันว่าจะเป็นสีอะไร   และปกในนั้นก็จะเหมือนกับปกนอก  เพียงแต่เป็นตัวอักษรสีดำบนกระดาษ A4ธรรมดา  ซึ่งเราจะนำปกในนี้ไปทำแบบอักษรทองเพื่อทำปกนอก  โดยปกนี้ต้องมีระยะห่าง ทั้งขอบบนและล่าง 1.5 นิ้ว
            3.บทคัดย่อ (Abstract) พิมพ์คำว่า "บทคัดย่อ" ใช้ตัวอักษรหนา ที่บรรทัดแรกตรงกลางหน้ากระดาษ
                เว้น 1 บรรทัด พิมพ์หัวเรื่องของบทคัดย่อ
                เว้น 1 บรรทัด พิมพ์เนื้อหาของบทคัดย่อ
            4.กิตติกรรมประกาศ
                    พิมพ์คำว่า "กิตติกรรมประกาศ" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
                    เว้น 1 บรรทัด พิมพ์เนื้อหา
                    เว้น 1 บรรทัด ใส่ชื่อและนามสกุลของผู้เขียน  ห่างจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ 1 นิ้ว
            5. สารบัญ
                    พิมพ์คำว่า "สารบัญ" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
            6. สารบัญตาราง (ถ้ามี) พิมพ์คำว่า "สารบัญตาราง" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
            7. สารบัญภาพ (ถ้ามี)  พิมพ์คำว่า "สารบัญภาพ" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
    2. ส่วนของเนื้อเรื่อง
          2.1 บทที่ 1 บทนำ
                    พิมพ์คำว่า "บทที่ 1" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
                     Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ พิมพ์ "บทนำ" อักษรหนาตรงกลางหน้ากระดาษ
                     Enter 2 ครั้ง เว้นระยะบรรทัด
                     กด tab 1 ครั้ง เริ่มพิมพ์ย่อหน้าแรก และหากมีการย่อหน้าลำดับต่อไป กด tab อีกครั้ง จะได้ระยะวรรค
เพิ่มอีก ประมาณ 3 ตัวอักษร
          2.2 บทที่ 2 ทฤษฎี แนวคิด ผลการศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับบทที่ 1
          2.3 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย หรือ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่นเดียวกับบทที่ 1
          2.4 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ หรือ ผลการทดลอง เช่นเดียวกับบทที่ 1
          2.5 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ เช่นเดียวกับบทที่ 1
   3. ส่วนอ้างอิง
          3.1 บรรณานุกรม
                    พิมพ์คำว่า "บทที่ 1" ใช้อักษรหนา ตรงกลางหน้ากระดาษ
                     Enter ขึ้นบรรทัดใหม่ พิมพ์ "บทนำ" อักษรหนาตรงกลางหน้ากระดาษ
                     Enter 2 ครั้ง เว้นระยะบรรทัด
                     เริ่มพิมพ์ได้เลยโดยไม่ต้องย่อหน้า  และใช้ตัวทึบสำหรับชื่อหนังสือ   กรณีที่รายละเอียดต้องขึ้นบรรทัดใหม่ กด tab เพื่อย่อหน้า จะได้ระยะวรรคประมาณ 7 ตัวอักษร
                     กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกัน พิมพ์ _______. 
          3.2 ภาคผนวก จะพิมพ์อยู่กลางหน้ากระดาษ ในกรณีมีหลายภาคผนวก ให้พิมพ์ข้อความว่า "ภาคผนวก ก, ภาคผนวก ข. ต่อเนื่องกันไป
          3.3 ประวัติผู้วิจัย  พิมพ์ "ประวัติผู้เขียน"  ตรงกลางหน้ากระดาษ บรรทัดแรก เว้น 1 บรรทัด พิมพ์เนื้อหา
               


ตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ ที่พิมพ์ด้วย openoffice.writer บน ubuntu

ตัวอย่างงานบรรณานุกรม ที่พิมพ์ด้วย openoffice.writer บน ubuntu

            1.2 การพิมพ์หนังสือราชการ  ด้วย openoffice writer บน ubuntu (เนื้อหา 5 หน้า) (รูปแบบฟอนต์ Angsima)                                         

ใน ด้านการพิมพ์หนังสือราชการนั้น ก็จะมีทั้งหนังสือที่เป็นหนังสือราชการภายนอก และภายใน  และแต่เดิมนั้นการพิมพ์หนังสือราชการก็จะจัดทำด้วยเครื่องพิมพ์ดีด
ซึ่ง มีระยะปัด ระยะบิด และตัวอักษรก็มีขนาดเดียว  ในปัจจุบันนี้การพิมพ์หนังสือราชการใช้คอมพิวเตอร์เกือบหมดแล้ว  และการเว้นระยะต่าง ๆ ก็ค่อนข้างจะหลากหลาย
ในที่นี้ผมจะยึดตามการเว้นระยะบรรทัดเช่นเดียวกันการใช้เครื่องพิมพ์ดีด


ในที่นี้จะยกตัวอย่างหนังสือราชการภายใน คือบันทึกข้อความ
1. กำหนดค่าหน้ากระดาษ ที่ รูปแบบ> หน้า โดยกำหนดเป็นแนวตั้ง ขนาด A4 มีระยะขอบ ซ้าย 1.5" บน 1" ขวา 1" ล่าง 1"
2. พิมพ์ "บันทึกข้อความ" ขนาดตัวอักษร 20 หนา ที่กลางหน้ากระดาษ แล้วกด ENTER ประมาณ 2 บรรทัดเพื่อแทรกภาพครุฑ
3. แทรกภาพครุฑ ซึ่งเป็นตราหนังสือราชการโดยทั่วไป  ซึ่งสำหรับบางหน่วยงานอาจจะใช้ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานก็ได้ ในส่วนนี้
    โดยไปที่ เมนู>แทรก>รูปภาพจากแฟ้ม และเลือกแหล่งรูปภาพที่ต้องการ
    อีกวิธีหนึ่งคือใช้ฟอนต์ซึ่งเป็นรูปตราราชการ ซึ่งเราต้องทำการเพิ่มฟอนต์นี้เข้าไปในระบบ  ไปที่เมนู>แทรก>อักขระพิเศษ>เลือกชื่อฟอนต์ที่ต้องการ
    เมื่อเราได้วางภาพครุฑแล้ว  ให้ขนาดของปีกบนครุฑอยู่ตรงกับคำว่าบันทึกข้อความพอดี
4. กด ENTER ลงประมาณ 1 บรรทัด เพื่อเว้นระยะ พิมพ์คำว่า "ส่วนราชการ" ด้วยตัวหนาขนาด 16 เมื่อพิมพ์เสร็จกด TAB เพื่อเว้นระยะแล้วพิมพ์ชื่อส่วนราชการด้วยวอักษรปกติ 16
    เสร็จแล้วกด ENTER
5. พิมพ์เลขที่ ที่ออกหนังสือ   พิมพ์ "ที่" แล้วเว้นวรรค 2 พิมพ์เลขที่ของหนังสือออก    พิมพ์เสร็จกด TAB ให้ข้อความเริ่มต้นตรงกับชื่อส่วนราชการ เพื่อพิมพ์วันที่โดยใส่ในลักษณะเต็ม
    เช่น "13  กันยายน 2552" เสร็จแล้วกด Enter
6. พิมพ์"เรื่อง" ด้วยตัวอักษรดำหนา  กดแทบ เพื่อเว้นระยะวรรค พิมพ์เรื่องสำหรับจดหมาย แล้วกด ENTER
7. พิมพ์ เครื่องหมายขีดกลาง --- ต่อเนื่องไปสัก 3 ตัวอักษร แล้วกด ENTER เพื่อจะได้เส้นขีดยาว
8. พิมพ์"เรียน" ด้วยตัวหนา กด TAB วรรค แล้วพิมพ์ชื่อ หรือตำแหน่งผู้ที่ต้องการจะเขียนหนังสือถึง  กด ENTER
9. กรณีมีสิ่งที่ส่งมาด้วยพิมพ์ "สิ่งที่ส่งมาด้วย" ด้วยตัวหนา กด
TAB วรรค
10. กด TAB 2 ครั้งเพื่อตั้งย่อหน้า แรกพิมพ์เนื้อความ เมื่อพิมพ์เสร็จ
กด ENTER
     
กด TAB 2 ครั้งเพื่อตั้งย่อหน้า แรกพิมพ์เนื้อความส่วนที่เหลือ เมื่อพิมพ์เสร็จ กด ENTER
      สังเกตว่า  เราจะมีระยะบรรทัดของทุกส่วนเท่ากันหมด  ซึ่งเราจะปรับในส่วนนี้ภายหลัง
       และเราจะพิมพ์ลงชื่อโดยเริ่มต้นชื่อ ในตำแหน่ง 2 ใน 3 ของกระดาษ พิมพ์ชื่อ สกุล แล้วกด ENTER
       พิมพ์ตำแหน่งของผู้ออกหนังสือ

       3. การพิมพ์ตาราง บน openoffice.writer
                                    
ไปที่ เมนู รูปแบบ > หน้า ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นแนวนอน เนื่องจากตารางมีความกว้างมาก ไม่สามารถพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดได้ในแนวตั้ง
ดังภาพ ตั้งระยะขอบทุกด้านเป็น 1"

พิมพ์ข้อความชื่อตาราง ด้านบน  โดยในที่นี้จะใช้ฟอนต์ Bromlila เนื่องจากเป็นฟอนต์ที่อ่านง่าย
แทรกตาราง
    ในที่นี้จะใช้ขนาด กว้าง 10 คอลัมน์  และยาว 10 แถวก่อน  และหากต้องการเพิ่มแถวก็สามารถเพิ่มได้ในภายหลัง
โดยคลิ้กที่ปุ่มแทรกตารางดังภาพ


พิมพ์ เนื้อหาที่ต้องการลงในตาราง  และเราสามารถปรับขนาดช่องของตารางได้  โดยใช้เมาส์เลื่อนไปยังส่วนบนของบรรทัด  ตารางจะแสดงปุ่มเลื่อนเพื่อให้ปรับขนาดตามต้องการได้


ในส่วนด้านบนของตาราง ซึ่งต้องการ ผสานเซลล์ หลายๆ  เซลล์ เป็นเซลล์เดียว
        สามารถทำได้ โดยการเลือกพื้นที่เซลล์ที่ต้องการผสาน แล้วคลิ้กขวา


ซึ่งจะแสดงเมนูลัด เพื่อให้ทำการผสานเซลล์


สำหรับการผสานเซลล์ในแนวตั้ง ก็ทำเช่นเดียวกัน


เมื่อทำการผสานเซลล์แล้ว  เราจะต้องจัดกึ่งกลางตามแนวตั้งด้วย เพื่อความสวยงาม
โดยคลิ้กขวา แล้วเลือกคำสั่ง จัดกึ่งกลาง บนเมนูลัด เลือก เซลล์ > กลาง

การเพิ่มจำนวนแถว ในตาราง
    คลิ้กขวา เพื่อเรียกเมนูลัด เลือกคำสั่ง แถว>แทรก




จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกจำนวนแถวที่ต้องการแทรก และตำแหน่ง ก่อนหน้า หรือ หลัง แถวปัจจุบันที่ตัวเคอร์เซอร์อยู่

จะได้จำนวนแถวตามต้องการ ซึ่งหากต้องการลบแถว ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่เลือกเป็นการลบ แทนการแทรก



     4. ใช้ openoffice.writer ทำใบเสนอราคา ด้วย openoffice.writer (5 หน้า)ใช้สูตร คูณ,Sum, และหา % (รูปแบบฟอนต์ Bromlila)
        ความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของโปรแกรม openoffice.writer คือ สามารถทำการคำนวณได้ด้วย อย่างใบเสนอราคา หรือใบเสร็จรับเงิน  ก็สามารถพิมพ์บน WRITER ได้สบายหายห่วง
    

1. ตั้งค่าหน้ากระดาษ โดยไปที่เมนู รูปแบบ>หน้า และกำหนดระยะขอบ
2. พิมพ์ส่วนบนของตารางที่ต้องการ เช่น ใบเสนอราคา ชื่อร้าน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขแฟกซ์ และเลขที่ใบเสนอราคา วันที่เสนอราคา
3. แทรกตาราง ซึ่งในที่นี้จะใช้ตารางขนาด 5X10 ดังภาพ

4. จากนั้นพิมพ์ข้อความ รายการ ลำดับที่ และจำนวนสินค้า และราคาสินค้าต่อหน่วย และจำนวนเงินรวมต่อรายการ ลงไปในตาราง







     5.ใช้ openoffice.calc พิมพ์รายการสินค้า แสดงสูตร Sum,คูณ, และ บวก,ลบ การจัดหน้ากระดาษและการปริ้นท์บน calc(รูปแบบฟอนต์ corada)
 









   

     6. ใช้ openoffice.draw ทำการ์ดเชิญ งานพิธีต่างๆ 
         งานบวช งานศพ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่  (รูปแบบฟอนต์ Th Charm of AU ของ Sipa)

ภาพที่ 7-1 การ์ดเชิญงานศพ
        การทำการ์ดเชิญสำหรับงานพิธีนั้น เดิมแล้วจะมีเฉพาะในโรงพิมพ์ ซึ่งต้องเสียค่าทำบล็อก และต้องสั่งเป็นจำนวนมาก และต้องเสียเวลารอนาน บางครั้งอาจจะหลายวัน 
        แต่ทุกวันนี้เราสามารถทำได้เองโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และปริ้นท์ เตอร์ทั่วๆ ไป สามารถทำได้ทันที ในจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ตามความสะดวก
        ขนาดของการ์ดเชิญ
การ์ดเชิญงานพิธี ทั้งงานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช หรืองานศพ จะมีขนาดที่เท่ากัน คือ B5(iso) กว้าง 6.93" X สูง 9.84" ซึ่งเป็นแบบพับ 2   เราจะทำการกำหนดหน้ากระดาษ  เมนู รูปแบบ>หน้า ตามภาพที่ 11  และจะเว้นระยะขอบทุกด้านเป็น 0.3" และเลือกขนาดกระดาษเป็น B5(iso) (ภาพที่ 7-2)  การ์ดเชิญนี้จะมีแบบสำเร็จรูปที่ขายอยู่ มีพื้นหลังเป็นรูปแบบที่เราต้องการ หรือเราจะใช้กระดาษสีธรรมดา แล้วนำลวดลายมาเพิ่มเติมเองก็ได้

ภาพที่ 7-2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ       
  
        งานศพ จะนิยมใช้ ตัวอักษร เป็นสีดำทั้งหมด  และแผ่นการ์ดเป็นสีขาวดำ
        งานบวช จะนิยมใช้ ตัวอักษร สีทอง  บนพื้นการ์ดสีครีม
        งานขึ้นบ้านใหม่ นิยมใช้ ตัวอักษรสีทอง บนพื้นการ์ดสีครีม
        งานแต่งงาน นิยมใช้ ตัวอักษรสีทอง บนพื้นการ์ดสีชมพู
        - พื้นที่บนการ์ดเชิญนี้เราจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ
        ส่วนที่ 1 เป็นกำหนดการในงานพิธี
        ส่วนที่ 2 เป็นรายชื่อเจ้าภาพ และญาติที่เกี่ยวข้อง
        ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ว่าง ซึ่งโรงพิมพ์อาจพิมพ์ที่อยู่เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านของตน  โดยใช้แนวตัวหนังสือกลับหัว 
        ส่วนที่ 4 เป็นส่วนของปกหน้าของการ์ด
  ภาพการแบ่งส่วนประกอบของการ์ด (ยังไม่มีรูปภาพ)
    เอาเป็นว่าเนื้อหาหลัก ๆ เราจะเริ่มพิมพ์ส่วนที่ 1 และ 2 กันก่อน โดยใช้ฟอนต์ (รูปแบบฟอนต์ Th Charm of AU ของ Sipa) : ซึ่งจะเป็นตัวอักษรที่คัดลายมือ สวย เหมาะสำหรับงานพิธี
ซึ่งส่วนที่ 1และ2 นี้ก็คือด้านในการ์ดนั่นเอง
   ส่วนที่ 1 เราสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการ ตามปกติลงไปได้เลย ตามตัวอย่าง  พยายามอย่าให้ถึงกึ่งกลางหน้ากระดาษ เพราะเราต้องเว้นระยะไว้พับ เพื่อเป็นระยะห่างระหว่างส่วนที่ 1กับ2
โดย บรรทัดล่างสุดของส่วนที่ 1 จะนิยมพิมพ์ว่า จึงขอเชิญท่านไปร่วมเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ด้วย   และ (ขออภัยหากเจ้าภาพมิได้มาเรียนเชิญด้วยตนเอง)
ภาพการพิมพ์ส่วนที่ 1 กำหนดการพิธี(ยังไม่มีรูปภาพ)

   ส่วนที่ 2 เราสามารถพิมพ์ เริ่มต้นได้จากกึ่งกลางหน้ากระดาษตามแนวตั้ง คือระยะที่
             ซึ่งเราจะพิมพ์ชื่อ - นามสกล ของเจ้าภาพ  แล้วกดระยะแท็บ เพื่อพิมพ์ความสัมพันธ์กับผู้วายชน์  กดแท็บเพื่อเว้นระยะ แล้วพิมพ์บรรทัดบนสุดว่าเจ้าภาพ
             โดยลำดับความสำคัญ จะให้เกียรตินำบิดา-มารดา หรือบุพการี ขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก  2สามี หรือภรรยา  3.และลำดับญาติพี่น้อง 4.บุตร-ธิดา ถ้าสมรสแล้วให้พิมพ์คู่สมรสในบรรทัดเดียวกัน  โดยเรียงตามลำดับอายุ ของบุตร 5. ญาติพี่น้องอื่น ๆ แล้วเว้นระยะ ใส่เครื่องหมาย " ให้ตรงกับบรรทัดข้างบน ซึ่งหมายถึงเจ้าภาพเช่นกัน
                     
ภาพการพิมพ์ส่วนที่ 2 คณะเจ้าภาพ (ยังไม่มีรูปภาพ)
    ส่วนที่ 3 ตำแหน่งนี้ปกติโรงพิมพ์จะใช้เพื่อพิมพ์ข้อความขนาดเล็ก ไว้บนสุด  เป็นชื่อโรงพิมพ์ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการพิมพ์ในส่วนนี้จะใช้วิธีการพิมพ์กลับหัว ซึ่งเราสามารถพิมพ์ตามปกติโดยใช้ กล่องข้อความ หรือ Textbox โดยเลือกจากฟังก์ชันวาดภาพ  พิมพ์ชื่อโรงพิมพ์ หรือชื่อร้านเราลงไป ใส่คำโฆษณาลงไปสั้น ๆ และก็ใส่หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการ์ดเชิญนี้สามารถติดต่อได้ เมื่อมีความต้องการเรียกใช้งานบริการจากเรา
    เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ทำการสั่งกลับหัวตัวหนังสือ โดยคลิกขวาที่กล่องข้อความ เลือก เมนู ตำแหน่งและขนาด  > เลือก แท็บ การหมุน      > มุมการหมุน  เลือกเป็น 180 ตัวหนังสือจะเป็นตัวกลับหัว
                                                                        ภาพการพิมพ์ส่วนที่ 3 ส่วนโฆษณาร้าน (ยังไม่มีรูปภาพ)

     ส่วนที่ 4 เป็นส่วนหน้าปกของการ์ดเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นส่วนที่บอกชื่อผู้วายชนม์ และวัน เวลา กำหนดการฌาปนกิจ และสถานที่วัดที่ทำการฌาปนกิจ ซึ่งเป็นการจัดงานวันสุดท้าย
ซึ่งจะใช้ตัว หนังสือที่ค่อนข้างใหญ่และเข้มกว่าปกติ เพราะในบางครั้งผู้รับการ์ดเชิญนั้น อาจได้รับการ์ดเชิญในเวลาที่กระชั้นชิด และไม่มีเวลามากนักในการมาร่วมงาน วันเวลาและสถานที่ ที่พิมพ์ในส่วนหน้าปกจึงต้องมีความชัดเจนและสวยงาม ซึ่งการ์ดในพื้นที่ส่วนนี้จะมีลวดลายที่ชัดเจนกว่าส่วนอื่น ๆ
ภาพการพิมพ์ส่วนที่ 4 ส่วนหน้าปกการ์ด (ยังไม่มีรูปภาพ)

การพิมพ์การ์ดงานพิธีอื่น ๆ นั้น ก็มีวิธีการเช่นเดียวกัน แต่นิยมใช้ตัวอักษรสีทอง หรือสีน้ำเงิน ไม่นิยมใช้สีดำ

     7. นำข้อมูลและภาพที่สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต มาสร้างแผ่นพับด้วย
         openoffice.writer   (รูปแบบฟอนต์ Sawasdee) + Fontwork
ภาพที่ 8-1 ภาพก่อนพิมพ์ของแผ่นพับ 3 คอลัมน์

  การทำแผ่นพับ 3 ตอน หรือ 3 คอลัมน์ เป็นที่นิยมใช้มาก เนื่องจากสะดวกในการนำเสนอ และยังสามารถใช้กระดาษได้ทั้ง 2 หน้า
คุณสมบัติของแผ่นพับคือ มีจุดเด่นที่เรียกความสนใจ อ่านง่าย ไม่น่าเบื่อ ผู้เขียนจึงจะใช้ รูปแบบฟอนต์ Sawasdee และใช้
ตัวอักษรศิลป์ Fontwork เพื่อให้เน้นเรื่องที่นำเสนอให้ชัดเจนขึ้น
   1. สร้างแฟ้มเปล่าขึ้นมา 1 แฟ้มบน oOo.writer แล้วตั้งค่าหน้ากระดาษให้เป็นแนวนอน โดยไปที่เมนู รูปแบบ>หน้า
ดู ได้จากภาพที่ 11  กำหนดกระดาษเป็นแนวนอน มีระยะขอบทุกด้าน เป็น 0.3 เสร็จแล้วคลิ้ก ที่ปุ่ม ตกลง ซึ่งอาจจะตั้งมากกว่านี้ก็ได้ ผู้เขียนตั้งขอบค่อนข้างน้อย เพราะจะสะดวกเวลาพับ (ภาพที่ 8-2)


ภาพที่ 8-2 การตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับแผ่นพับ

    2. สร้าง รูปแบบ 3 คอลัมน์ ไปที่เมนู รูปแบบ>คอลัมน์ (ภาพที่ 8-3) จะขึ้นหน้าจอการกำหนดคอลัมน์  ให้เลือกเป็น 3 คอลัมน์ และให้เรากำหนดระยะห่าง เป็น 0.6 (ภาพที่ 8-4) เพื่อให้สัมพันธ์กับที่เราตั้งขอบกระดาษเอาไว้ ซึ่งเราอาจจะตั้งให้น้อยกว่านี้อีกก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการจัดวางเนื้อหาและรูปภาพ ให้กดแป้น ENTER ลงไปเรื่อย ๆ ให้ได้ประมาณ 2 หน้ากระดาษ

ภาพที่ 8-3 การเรียกเมนูคำสั่ง คอลัมน์

ภาพที่ 8-4 การกำหนดจำนวนคอลัมน์ เป็น 3 คอลัมน์ และมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.6"

        เมื่อเวลาที่เราทำให้กระดาษนี้เป็นแผ่นพับโดยปริ้นท์จากสองหน้าแล้ว เราจะแบ่งออกได้เป็น 6 ส่วน
        หน้าแรกสุด หรือหน้าปกนั้น จะอยู่ในตำแหน่งที่ 1 คือคอลัมน์ขวาสุด
        และหน้าแรกของเนื้อหาคือ ตำแหน่งที่ 2 อยู่ที่ซ้ายสุดของหน้าต่อไป  
        จากนั้นเนื้อหาอื่นและรูปภาพก็จะอยู่ที่ตำแหน่งที่ 3 และ 4
        และเมื่อมีเนื้อหาหน้าถัดไปอีกก็จะมาอยู่ตำแหน่งที่ 5 และ 6 คือด้านซ้ายมือของ หน้าเดียวกับปก (ภาพที่ 8-5)


                                                       ภาพที่ 8-5 แสดงการวางตำแหน่ง ของแผ่นพับ

    เราสามารถนำข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยคัดลอกข้อความและรูปภาพมาวางได้  โดยเราจะเริ่มที่หน้าแรกของเนื้อหา คือส่วนที่ 2 ก่อน เพื่อความสะดวก และให้มีเนื้อหาทั้งหมด ไม่เกินส่วนที่ 5 และจะทำ ปก(ส่วนที่ 1) เป็นลำดับสุดท้าย
   การนำเนื้อหาจากอินเตอร์เน็ตมาใส่ใน oOo.Writer
    - เปิดโปรแกรม Firefox ขึ้นมา เพื่อเข้าสู่หน้าอินเตอร์เน็ต  
    - เข้าสู่เว็บสืบค้นข้อมูล www.google.co.th แล้วป้อนข้อความที่ต้องการสืบค้น ในที่นี้จะสืบค้นสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ ในจังหวัดอุบลราชธานี
       เมื่อเราเข้าสู่หน้าจอการทำงานของอินเตอร์เน็ต บางครั้งตัวอักษรเล็กไป ก็สามารถกด ปุ่ม Ctrl พร้อมกับ ปุ่ม+  เพื่อขยาย 
       หากจะย่อลงให้กดปุ่ม Ctrl และปุ่ม - 
    เมื่อได้เนื้อหางานที่ต้องการแล้ว เราก็จะคลิ้กเมาส์ซ้ายค้างไว้ แล้วลากเมาส์คลุมพื้นที่ ที่ต้องการ  
    หรืออาจจะใช้วิธีกดปุ่ม Shift แล้ว คลิกพื้นที่เริ่มต้น และพื้นที่สิ้นสุด ก็ได้
    จากนั้นคลิ้กที่ปุ่มขวาของเมาส์ จะปรากฎ เมนูย่อย ให้เราเลือกคัดลอก    ในกรณีที่ไม่สามารถคลิกเมาส์ขวาได้  ให้ไปคลิกที่คำสั่ง เมนู > คัดลอก
    แล้วนำเนื้อหาและรูปภาพนั้นมาวางบน แผ่นพับของเรา ให้มีเนื้อหาอยู่ในส่วนที่ 2-6 และเว้นส่วนที่ 1 ไว้ เพื่อพิมพ์หน้าปกของแผ่นพับ (ภาพที่ 8-6)
    - ซึ่งเราสามารถเลือกสีของตัวอักษรได้ โดยเลือกพื้นที่ข้อความ แแล้วคลิกที่ปุ่ม 
    - และรูปแบบตัวอักษรนั้นเราก็เลือกได้จากทูลบาร์ รูปแบบ และขนาดตัวอักษร ซึ่งในแผ่นพับนี้จะใช้ฟอนต์ Sawasdee ขนาดตัวอักษร 20

   

ภาพที่ 8-6 นำเนื้อหามาวางให้อยู่บนพื้นที่ส่วนที่ 2-6 และเว้นพื้นที่ ส่วนที่ 1 ไว้ทำปก

        เพื่อให้น่าสนใจยิ่งขึ้นเราจะนำตัวอักษรศิลป์ Fontwork  เพื่อทำหน้าปก  โดยเรียกใช้ได้จากปุ่ม ซึ่งอยู่ด้านล่าง 
หากไม่พบปุ่ม Fontwork นี้ ให้คลิกที่ปุ่มเครื่องมือวาดภาพก่อน 
        เมื่อเรียก Fontwork ขึ้นมาจะปรากฎหน้าจอดังภาพ ให้เราเลือกรูปแบบที่ต้องการ (ภาพที่ 8-7)

                                                   ภาพที่ 8-7 แสดงการเรียกใช้งานอักษรศิลป์ Fontwork

        เมื่อตัวอักษร Fontwork แสดงบนแผ่นพับของเรา จะเป็นข้อความ Fontwork ในรูปแบบที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะดูตัวใหญ่ไปสักหน่อย เราค่อยมาปรับทีหลัง ให้ดับเบิ้ลคลิก เพื่อป้อนข้อความที่เราต้องการ แล้วพิมพ์ข้อความลงไป หากมีหลายบรรทัดให้กด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ หรือคลิกพื้นที่อื่น ๆ เมื่อป้อนข้อความเสร็จ (ภาพที่ 8-8)

                                                    ภาพที่ 8-8 การพิมพ์ข้อความด้วยอักษรศิลป์

        Fontwork จะแสดงข้อความที่เราต้องการในรูปแบบข้อความศิลป์ (ภาพที่ 8-9)



        เราจะทำการปรับขนาดและเคลื่อนย้ายให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
        ซึ่งการกำหนด Fontwork นี้ควรกดปุ่ม Shift ค้างไว้ด้วย แล้วคลิกเมาส์ซ้าย บนพื้นที่ที่ Fontwork อยู่ จะแสดงตำแหน่งขนาด ให้เราเลื่อนลูกศร 2 แฉก เพื่อปรับขนาด และตำแหน่งที่ต้องการ
        และสามารถปรับรูปแบบของความโค้งเพิ่มเติมได้
        เมื่อเราปรับเสร็จสามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยกดเมาส์ค้าง หัวลูกศรจะเป็น 4 แฉก 
        เมื่อวางได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วเรานำภาพมาจัดวางเพิ่มเติมเพื่อความสวยงาม (ภาพที่ 8-1) ก็จะได้แผ่นพับ 3 คอลัมน์ตามต้องการ


















ไม่มีความคิดเห็น: